พจนานุกรมล้านนา-ไทย wanchai.pho@mcu.ac.th 084-0403560
เขียนล้านนา
อ่านล้านนา
ความหมาย
1. สามารถพิมพ์ค้นหา ถ้าเป็นภาษาไทย เป็นล้านนา
พิมพ์ความหมายภาษาไทยอักษรไทย คำต่อคำ ถ้าเป็นประโยค ให้เว้นวรรค เช่น
พญา งำ เมือง
2. พิมพ์ภาษาล้านนา(คำเมือง) เช่น พรฯ พรฯยฯา งำ เมือฯง
3. ทั้งสองภาษา ไม่ควรพิมพ์ เป็นคำซ้ำ เช่น กินข้าว กินปลา เป็นต้น
ดาวน์โหลดฟอนต์
การพิมพ์ ตั๋วอักษรล้านนา
1. เพื่อเป็นสื่อในค้นหาความหมาย ทั้งภาษาไทยล้านนา และภาษาไทยกลาง
2. เพื่อใช้เป็นสื่อในการอนุรักษ์ภาษาไทยล้านนา
3. เพื่อใช้แลกเปลี่ยนความรู้เชิงวิชาการ มิใช่เพื่อการค้าธุรกิจ
กระผม รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี อาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ร่วมกับผู้พัฒนาโปรแกรม
มีความประสงค์ที่จะสร้างพจนานุกรม สื่ออิเล็คโทรนิค เพื่อใช้ในการค้นหาคำ
และความหมายในภาษาล้านนา ในโลกออนไลน์(INTERNET)เห็นว่า
ภาษาไทยล้านนา กำลังจะสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย จากความที่ความเป็นวัฒนธรรมระดับสูง
ของชนชาติบรรพบุรุษได้สร้างวัฒนธรรมภาษาที่ดีงาม กล่าวคือ มีทั้ง อักขรวิธี ไวยกรณ์
อักษร ซึ่งเมื่อเทียบบางประเทศที่มีความเจริญ แต่เขาไม่มีอักษร ทั้งนี้ชาวล้านนา
มีอักษร ภาษาพูดเป็นของตน ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาอนุรักษ์ไว้สืบต่อไป
เพราะในอนาคตภายหน้า อักษรจารึก ที่เป็นความรู้ในสมัยอดีตอาจจะเสื่อมหายไป
จะเห็นได้ว่า การศึกษาภาษาไทยล้านนา ต้องศึกษาจากเอกสารเก่าๆ
ซึ่งถ้าหมดยุคนั้นแล้ว ต่อไป องค์ความรู้สมัยใหม่ๆ ควรจะมีการบันทึก
จารึกเป็นหลักฐาน ยุคใหม่ๆ นี้ ดังนั้น พจนานุกรม คงเป็นส่วนหนึ่งที่เริ่มดำเนินการ อาจจะมีความบกพร่องบ้าง
ความเห็นไม่ตรงความเห็นผู้รู้ท่านอื่นบ้าง ขอร่วมด้วยช่วยกัน เผยแพร่ แนะนำ ชี้แนะเพื่อการอนุรักษ์ ภาษาไทยล้านนา ต่อไป
รศ.ดร.วันชัย พลเมืองดี
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
566 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
เบอร์โทรศัพท์: 0840403560 อีเมล: wanchai.pho@mcu.ac.th
